หลวงปู่นาค


หลวงปู่นาค 
เป็นพระพุทธรูปประจำวันเสาร์  ปางนาคปรก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดมัชฌิมาวาส และคู่บ้านคู่เมืองอุดรฯมาช้านาน  ประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ  เป็นที่สักการะบูชา เคารพ นับถือของชาวเมืองอุดรฯ ชาวเมืองอุดรฯมักไปไหว้สักการะขอพรกันอยู่เป็นประจำ และมักจะได้ในสิ่งอันตนปรารถนาอยู่เสมอๆ

หลวงพ่อนาค
หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อุดรธานี พบในวัดร้างโบราณที่บ้านโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้งและละแวกใกล้เคียงจัดให้มีงานสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และงานบุญบั้งไฟเป็นประเพณีสืบมา
ในรัชกาลที่ 5 พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ โปรดให้สร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้นที่บริเวณวัดร้างนี้ แล้วอันเชิญหลวงพ่อนาคประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2437 ต่อมาในพุทธศักราช 2494 พระเทพวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่ พร้อมกับบูรณะหลวงพ่อนาคโดยหุ้มพระพุทธรูปองค์เก่าไว้ภายใน
หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ทำจากหินขาวเป็นท่อน นำมาประกอบกันเป็นองค์พระประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมหลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่ที่วัดร้าง บนโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้ง และบ้านใกล้เคียงนับถือว่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงได้พร้อมใจกันปลูกศาลาขนาดเล็ก มุงด้วยหญ้าคาเป็นที่ประดิษฐาน มีการทำบุญสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และทำบุญบั้งไฟบูชาเป็นประจำทุกปี

ต่อมาเมื่อ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงสร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้งนี้ จึงทรงให้สร้างอุโบสถขึ้นที่โนนหมากแข้ง แล้วอาราธนาพระพุทธรูปปางนาคปรก หินขาว ดังกล่าวมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถนั้น





ต่อมาทางวัดสร้างพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ จึงได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่า และอาราธนาหลวงพ่อนาค ไปประดิษฐานไว้ที่หน้ามุข ด้านหน้าพระอุโบสถ และได้มีการก่อพระพุทธรูปหุ้มองค์เดิมไว้ ประชาชนถือว่าเป็นพระพุทธรูปมิ่งเมืองอุดรธานี เพราะมีประจำอยู่ที่โนนหมากแข้งก่อนสร้างเมืองอุดรธานี ทางวัดมัชฌิมาวาสถือเอาหลวงพ่อนาคเป็นสัญลักษณ์ของวัดและตราประจำวัด จะมีรูปพระนาคปรกอยู่ตรงกลางหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส 
หลวงพ่อนาคองค์เดิมเป็นพุทธรูปปางนาคปรกทำจากหินสีขาว หลังจากบูรณะแล้ว ชาวอุดรที่เคารพศรัทธา สามารถนำทองคำเปลวปิดถวายเพื่อเป็นการสักการะบูชาได้สะดวกขึ้น หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก วัสดุหินขาว พอกปูนทับองค์เดิม ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐๔ เซนติ เมตร สูง ๒๖๐ เซนติเมตร (เฉพาะองค์พระสูง ๑๔๙ เซนติเมตร) ศิลปะรัตนโกสินทร์นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของจังหวัดอุดรธานี ประดิษฐานที่มุขด้าน หน้าอุโบสถ วัดมัชฌิมาวาส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น